บทความ
“เบื่องาน” ทำไงดี ? เปิดเคล็ดลับ สู้รบกับความรู้สึกเบื่อ!

ช่วงที่ “โควิด-19” ยังระบาด หลายคนต้องทำงานอยู่ที่บ้าน (Work From Home) ยิ่งทำงานที่บ้านนานเข้า ความรู้ขี้เกียจก็เริ่มทำงานแทนที่ สิ่งหนึ่งที่ตามมาพร้อมบรรยากาศที่จำเจ คืออาการ “เบื่องาน” ที่ดูเหมือนจะรับมือได้ยากกว่าความขี้เกียจเป็นไหนๆ
Quartz เปิดเคล็ดลับ สู้รบกับความรู้สึกเบื่องานนอกเหนือจากการดูซีรีส์หลังเลิกงาน เล่นเกมในมือถือ หรือสไลด์หน้าจอมือถือพรางๆ เพื่อหนีความเบื่อ
สิ่งที่น่าสนใจมากกว่า วิธีแก้เบื่องาน ให้ผ่านไปในแต่ละวัน คือวิธีแก้เบื่องานในระยะยาว สิ่งหากคุณเข้าใจในวิธีการเหล่านี้ และพยายามมากพอ มันอาจเปลี่ยนให้เรากลายเป็นคนรักงาน หรืออาจพัฒนาความคิด และผลักดันตัวเองให้เจองานที่ชอบมากกว่างานที่กำลังทำอยู่ก็เป็นได้
Quarytz อธิบายถึงลักษณะความรู้สึก “เบื่อ” ออกได้ 2 แบบ จากการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยในฟลอริด้า โดย Erin Westgate นักจิตวิทยาสังคม อธิบายความหมายของอาการเบื่อ 2 แบบไว้ดังนี้
- เบื่อเนื้องานที่ง่ายหรือยากเกินไป
แบบแรกคือ “เราจะรู้สึกเบื่อ เมื่อเราไม่สามารถใส่ใจหรือไม่สามารถค้นหาความหมายในสิ่งที่เรากำลังทำอยู่” ความเบื่อในลักษณะนี้อาจมากจากงานที่ง่ายหรือยากเกินไป เช่น รู้สึกเบื่อที่จะป้อนข้อมูลง่ายๆ แต่ขณะเดียวกันก็เบื่อในการพยายามแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ยากเป็นพิเศษ
- เบื่อเพราะรู้สึกว่างานไม่มีความสำคัญกับตัวเอง
อีกรูปแบบคือ “อาการเบื่อจากการที่เรารู้สึกว่างานของเราไม่สำคัญ” หรือที่ David Graeber นักมานุษยวิทยาคนหนึ่งเรียกงานเหล่านี้ว่า “bullshit jobs” หรืองานที่ไร้สาระ คุณจะรู้สึกว่างานเหล่านี้ไร้ความหมาย หรือไม่สามารถเติมเต็มบางสิ่งบางอย่างให้กับชีวิตคุณได้เลย จะเกิดความเบื่อหน่าย ความเหงาเศร้า และล่องลอย เหมือนเรากำลังชมภาพยนตร์ศิลปะฝรั่งเศส แต่ไม่อาจสัมผัสสุนทรียศาสตร์ของความสวยงามได้
อย่างไรก็ตาม David Graeber …….มองว่าทุกๆ เรื่องสามารถบรรเทาเบาบางลงได้ แม้แต่ความเบื่อเหล่านี้ ถ้าเราเลือกวิธีแก้ปัญหาต่อต้านความเบื่อหน่ายอย่างชาญฉลาด ดังต่อไปนี้
- สร้างความหมายให้กับงาน
เมื่อปัญหาที่พบคืองานในมือของคุณไม่มีความหมาย คุณอาจจะสามารถกลับมาทำงานอีกครั้งได้ โดยค้นหาจุดประสงค์ของการทำงาน นอกเหนือจากการทำงานตามคำสั่ง
Amy Wrzesniewski ศาสตราจารย์ด้านการจัดการของมหาวิทยาลัยเยล เรียกวิธีนี้ว่า “การสร้างงาน” เช่น งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าภารโรงของโรงพยาบาลมีความพึงพอใจอย่างมากกับงานของพวกเขา เพราะพวกเขาเข้าใจจุดประสงค์หลักในการทำความสะอาดห้อง ว่าเป็นการเข้าไปมีส่วนร่วมกับการดูผู้ป่วย ทำให้พวกเขาทำงานต่อไปเรื่อยๆ ด้วยความเต็มใจ
- เลือกสิ่งที่น่าสนใจมากกว่าความสนุกสนาน
เราสามารถจัดการกับความเบื่อหน่ายของเราโดยการเลือกทำงานสลับกับตามสัญชาตญาณของมนุษย์ ที่โดยปกติแล้ว เมื่อคนเราเผชิญกับความเบื่อหน่ายมักจะเปลี่ยนไปหาสิ่งที่คิดว่าสนุกสนานกว่าทันที เช่น วางมือจากงานไปการเล่นเกมในมือถือ ช้อปปิ้งออนไลน์ ส่องอินสตาแกรมคนอื่น ฯลฯ
อย่างไรก็ตามกิจกรรมที่น่าพึงพอใจ หรือสนุก แต่ไม่ได้ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด จะไม่ช่วยจัดการกับความเบื่อและที่น่ากลัวกว่านั้นคือกิจกรรมเหล่านั้นอาจนำไปสู่ความเบื่อหน่ายที่มากขึ้น และไม่สิ้นสุด โดยเปรียบเปรยกิจกรรมสนุกสนานที่เข้ามาแก้ความเบื่อชั่วครั้งชั่วคราวเหมือนอาหารขยะที่ให้ความพึงพอใจในระยะสั้นและส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว
ในขณะที่งานเกี่ยวกับการสร้างความรู้ความเข้าใจที่จำเป็น จะนำไปสู่การสร้างแบบแผนและความรู้ใหม่ ๆ หรือสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำความเข้าใจในหัวข้อที่ซับซ้อนได้ และสร้างความรู้ต่อไปเรื่อยๆ
กล่าวอีกนัยหนึ่งเมื่อเราเลือกกิจกรรมแก้เบื่อ ควรเป็นกิจกรรมที่ทำให้สมองของเราทำงานมากขึ้น ได้ใช้ความรู้ความเข้าใจ ทำความเข้าใจในหัวข้อที่มีความซับซ้อน เช่น การเลือกที่จะดูสารคดีเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แน่นอนว่าไม่สนุก แต่จะทำให้มีการพัฒนามากกว่าเล่น Candy Crush
อีกหนึ่งตัวอย่าง คือการขยายตรรกะนี้ไปสู่บริบทของการทำงานศาสตราจารย์ที่กำลังเบื่อหน่ายขณะที่เขียนจดหมายแนะนำสำหรับนักศึกษา พวกเขาตัดสินใจหยุดพักโดยการอ่านบทความวิจัยใหม่ในสาขาของเธอ
พฤติกรรมเหล่านี้ อาจกระตุ้นให้ศาสตราจารย์เหล่านี้ เป็นผู้มีความสามารถใหม่ๆ ประสบความสำเร็จในระดับบัณฑิตศึกษา และเปลี่ยนแนวทางของเธอเป็นคำแนะนำให้กับนักศึกษารุ่นใหม่ๆ ว่า
“ความพยายามที่จะพัฒนาทักษะใหม่และมีประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการทำงาน มันจะสอดคล้องกับความสนใจงานมากขึ้นในอนาคต”
เมื่อความพยายามเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อยๆ ร่างกายจะมีการผลิต “โดพามีน” สารที่ช่วยให้กระบวนการทำงานของสมองและการเคลื่อนไหวของร่างกายเป็นไปอย่างปกติ ช่วยควบคุมอารมณ์ความรู้สึก ช่วยในเรื่องของการรับรู้ ส่งเสริมระบบความจำ และการเรียนรู้ต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น โดยทางการแพทย์ยังได้วิจัยแล้วพบว่าสารนี้ยังมีหน้าที่ในการสร้างบุคลิกของผู้คนให้กลายเป็นคนที่มองโลกในแง่ดีได้
แน่นอนว่าสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้คือ บริษัทพัฒนาเทคโนโลยีและความบันเทิง ที่ต่างแข่งกันใช้เวลาและเงินไปกับการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อหลอกล่อ หรือดึงดูดความสนใจให้ไปใช้บริการ อย่างไรก็ตามการใช้อุปกรณ์เหล่านี้เป็นเครื่องมือสร้างความสุขไม่ใช่เรื่องผิด แต่ต้องมีการจัดการที่ดีพอ เพื่อควบคุมเวลาตัวเองในการใช้งานแอปพลิเคชันดูดเวลาชีวิตเหล่านี้อย่างเหมาะสม เพราะวิธีนี้คือจุดเริ่มต้นที่ดีในการออกจากภาวะ “เบื่องาน” อย่างที่หลายๆ คนกำลังเผชิญอยู่ในตอนนี้
เรื่องโดย : ปณิดดา เกษมจันทโชติ