Connect with us

บทความ

พระญี่ปุ่นปรับตัวยังไงให้อยู่รอดและเข้ากับยุคสมัย

Published

on

ก่อนที่จะรู้ว่าพระในญี่ปุ่นมีสายไหนบ้าง เรามาทำความเข้าใจก่อนว่าทำไมญี่ปุ่นถึงมีบริบททางศาสนาที่แตกต่างจากไทย โดยเรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปยังเส้นทางของศาสนาพุทธในประเทศญี่ปุ่นก่อน การเผยแพร่ศาสนาพุทธในญี่ปุ่น ได้รับอิทธิพลมาจากคาบสมุทรเกาหลี ช่วงศตวรรษ ที่ 6 โดยเดิมญี่ปุ่นนับถือลัทธิชินโต คือการนับถือเทพเจ้า เช่น การนัลถือภูเขาทั้งลูก เมื่อศาสนาพุทธเข้ามาก็เริ่มมีความเป็นระบบมากขึ้นโดยมีการสร้างศาลเจ้า วัด และรูปบูชาต่างๆ ต่อมาในช่วงศตวรรษ ที่ 8 มีการผสมผสานวัฒนธรรม เป็นความเชื่อว่าเทพเจ้าทั้งหลายของลัทธิชินโต เป็นผู้ปกป้องศาสนาพุทธ ซึ่ง ทำให้วัดบางวัดในประเทศญี่ปุ่นมีเทพเจ้าคอยปกปักษ์รักษาวัด และมีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรม ศาสนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ขณะที่ข้อแตกต่างระหว่างวัดและศาลเจ้าของญี่ปุ่นจะมีความแตกต่างกัน โดยศาลเจ้าของญี่ปุ่นจะมีซุ้มประตูหนึ่งที่เป็นสัญญาลักษณ์ว่าเป็นศาลเจ้า ซึ่งบางแห่งก็มีความคล้ายคลึงกัน เช่น ศาลเจ้าที่มีพระประจำศาลเจ้า ขณะที่ช่วงปลายยุคเอโดะ ต้นยุคเมจิ มีการปฏิวัติศาสนาขึ้น ทำให้พระสามารถมีภรรยาและดื่มสุราได้จนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งกฏหมายของญี่ปุ่นบังคับให้รัฐบาลห้ามสนับสนุนศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ดังนั้นจึงทำให้วัดในยุคต่อมาจำเป็นต้องมีการสร้างรายได้ขึ้น หากสังเกตวัดหรือศาลเจ้าในญี่ปุ่นจะมีการสร้างของที่ระลึกและเครื่องรางต่างๆ เก็บค่าที่จอดรถ-ค่าเข้า เพื่อสร้างรายได้ให้กับวัด เพื่อให้วัดอยู่รอด หนึ่งในการปรับตัวคือการนำเกมเข้ามาในวัดเพื่อทำให้คนเข้าใจถึงศาสนามากยิ่งขึ้น เช่น เกมกระดานในการบริหารวัด รูปแบบจะคล้ายๆกับเกมเศรษฐี เป้าหมายของเกมคือ ใครมีพระลูกวัดมากกว่ากัน 

ณ วัดเท็นรีว หรือ วัดมังกรสวรรค์ เป็นวัดเอกของนิกายเซน สำนักรินไซ สาขาเท็นรีว ตั้งอยู่ในเขตอุเกียว ในนครเกียวโต มีการนำเอา พระธรรมคำสอนมาประกอบเข้ากับเพลงแนวอิเลคโทรนิค เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป โดยมีซิงเกิลที่ชื่อว่า “Kanho Yakushiji or kissaquo” และเผยแพร่ผ่านทางแอพพลิเคชั่น สตรีมมิ่งเพลงต่างๆ เช่น ITunes、Spotify、Googleplay โดยมีทั้งเวอร์ชั่น สั้น , ยาว , รีมิกซ์ และ อะแคปเปลลา

พระชื่อ “Kansho Tagai” หรือ “เอ็มซี.แฮปปี้เนส” จากวัด Kyoouji ในมหานครโตเกียว เขาได้ดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ให้มาสนใจในพระพุทธศาสนาได้มากขึ้นโดยการนำพระธรรม เข้ามาผสมกับเพลงแร็พ Kansho Tagai บอกกับผู้สื่อข่าวว่าในช่วงแรกที่เขาได้ยินเพลงแร็พ เขาก็ไม่เข้าใจ เพราะต้อนนั้นเป็นภาษาอังกฤษหมด แต่มันทำให้เข้านึกขึ้นได้ว่า ไม่ก็เหมือนกับเวลาที่เราฟังพระสวดมนต์ที่สวดด้วยภาษาอื่น ที่เราไม่เข้าใจ นั่นทำให้เขาคิดที่จะนำเพลงแร็พเข้ามาผสมผสานเข้ากับพระธรรมให้คนรุ้นใหม่ได้เข้าใจ
มีคำถามหนึ่งที่ถูกถามไปยังพระรูปนี้ คือ “การทำแบบนี้จะทำให้พระพุทธศาสนาเปลี่ยนไปหรือไม่ ?” ท่านตอบว่า “การสอนพระธรรมยังคงเดิม แค่วิธีการเปลี่ยนไป ในโลกยุคใหม่ที่คนมองว่าการเข้าวัดเป็นเรื่องแปลก หน้าที่ของอาตมา คือ การส่งพระธรรมคำสอนสู่ใจประชาชน” Kansho Tagai มีแผนที่จะนำเอาการเต้นแซมบ้าและการเต้นแท็ปเข้ามาผสมในการสอนพระธรรมด้วย

หลวงพ่อ Gyosen Asakura มีทักษะในการเป็น DJ เพื่อที่จะน้อมนำเอาคำสอนของพระพุทธเจ้าเข้าสู่ใจของพุทธศาสนิกชนด้วยเสียงเพลง ในเมืองฟูกูอิ ประเทศญี่ปุ่น หลวงพ่อ Gyosen Asakura ได้รับการสืบต่อวัดมาจากครอบครัว โดยหลวงพ่อรูปนี้เป็นองค์ที่ 17 ของวัดแห่งนี้ วันที่ท่านจำวัดอยู่สร้างมากว่า 540 ปีแล้ว และครอบครัวของเขาก็ปกป้องวัดแห่งนี้มาโดยตลอด ในช่วงแรกท่านก็ไม่ชอบที่จะต้องมาดูแลวัดแห่งนี้ต่อจากครอบครัว ท่านในตอนนี้นคิดว่าวัดเป็นสิ่งที่โบราณ , น่าเบื่อ และกฏเกณฑ์เยอะเกินไป และอยากจะหนีออกจากวัดแห่งนี้ ในตอนนั้นหลวงพ่ออยากเป็นประกอบอาชีพ DJ และช่างไฟ ออกแบบไฟในงานคอนเสิร์ต(ไม่ใช่ช่างซ่อมไฟ)และท่านก็เดินจามเส้นทาง DJ และพอมาถึงจุดหนึ่ง ท่านก็ระลึกถึงความคล้ายคลึงกันของการเป็น DJ และพระ นั่นคือการส่งต่อสิ่งที่สวยงามสู่ผู้ฟัง ก่อนหน้านี้ หลวงพ่อทราบว่า คนที่เข้ามายังวัดลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลวงพ่อต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อให้วัดอยู่รอด ในช่วงแรกเป็นเรื่องที่เหมือนกับมุขตลก ในการเปิดบีตส์เพลง ไปพร้อมกับพระธรรม แต่หลังจากมีการผสมแสง สีและเสียง ผ่านเครื่องโปรเจกเตอร์ มันก็กลายเป็นการแสดงพระธรรมเทศนาในรูปแบบที่แตกต่างออกไปมีการเรียกการแสดงพระธรรมเทศนาของหลวงพ่อท่านนี้ว่า “Techno Hoyo” ในช่วงแรกมีเพียงแค่เพื่อนบ้านที่มาฟังการเทศนาของเขาเท่านั้น หลังจากนั้นจึงมีการบอกกันปากต่อปาก จนมีคนมาฟัง 100 , 200 และ 250 คนต่อครั้งในปีที่แล้ว มีคนมากมายหลากหลายวัย เข้ามาฟังเทศน์ของหลวงพ่อ

ค่าพิธีงานศพราคาไม่ถูกในญี่ปุ่น เพราะงานศพในประเทศญี่ปุ่นมีค่าจัดงานศพที่สูงมากๆ อาจถึงหลักแสนเลยทีเดียว ที่วัดโคไดจิ ในกรุงเกียวโต ประเทศญี่ปุน จึงมีการนำหุ่นยนต์เข้ามาสวดมนต์ในงานศพด้วย และแสดงพระธรรมเทศนารวมถึงในประเทศญี่ปุ่นก็มีการแก้กรรมและสร้างบารมีในชีวิตที่ล่วงลับไปแล้วเช่นกัน โดยการการสลักชื่อที่สำคัญลงในป้ายชื่อหน้าหลุมศพ ราคาตั้งแต่หลักหมื่นจนไปถึงหลักแสน ในบางที่เชื่อว่า ยิ่งจ่ายมาก ยิ่งขึ้นสวรรค์ชั้นสูงๆ แต่สำหรับผู้ไม่ศรัทธาก็ไม่มีการบังคับ

ขณะที่ช่วงปลายยุคเอโดะ ต้นยุคเมจิ มีการปฏิวัติศาสนาขึ้น ทำให้พระสามารถมีภรรยาและดื่มสุราได้จนมาถึงปัจจุบัน ในประเทศญี่ปุ่น พระมีการเปิดบาร์ต่างๆเพื่อแทรกซึมพุทธศาสนาลงไปในการเข้าไปใช้บริการด้วย หนึ่งในผู้ร่วมเสวนาที่เคยไปใช้บริการ บาร์ดังกล่าว ระบุว่า มีการแทรกซึมคำสอนลงมาในการใช้บริการจริง เช่น พูดคุยเรื่องพระธรรมระหว่างดื่ม

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า บาทหลวงและพระสงฆ์อีก 6 รูป ในประเทศญี่ปุ่นได้รวมตัวกันตั้งวงดนตรีร็อค “บ๊อกซี่” จัดคอนเสิร์ตร็อค เพื่อเผยแพร่ศาสนาทั้งนี้ หนึ่งในพระสงฆ์ของวงบ๊อกซี่ กล่าวว่า อยากจะสอนศาสนาให้วัยรุ่นได้เข้าใจเนื้อแท้ของศาสนา พร้อมทั้งมีความสุขไปกับการฟังดนตรีด้วย ขณะที่พระสงฆ์อีกองค์ได้ชี้แจงถึงการตั้งวงดนตรีว่า แม้การเล่นดนตรีจะขัดกับหลักการของนิกายเซน แต่เราก็ต้องตั้งใจทำเพื่อให้เข้าถึงจิตวิญญาณ สำหรับวงบ๊อกซี่นี้ ตั้งขึ้นมาตั้งแต่เมื่อ 3 เดือนที่แล้ว โดยมีกลุ่มคนบางกลุ่มให้ความสนใจ แต่วงบ๊อกซี่ก็หวังว่าวงนี้จะเป็นที่รู้จักและติดตามเพลงสอนศาสนาของพวกเขา

พระสงฆ์นิกายนิชิเรนแห่งวัดโจไซจิ ที่จังหวัดนะงะซะกิ ของญี่ปุ่นดัดแปลงบทสวดมนต์ โดยบรรเลงร่วมกับดนตรีแจ๊ซ พร้อมเปิดคอนเสิร์ตและออกอัลบั้มจำหน่ายแก่พุทธศาสนิกชน ผลงานบทสวดมนต์ทำนองเพลงแจ๊สในอัลบั้ม “เซทัน” หรือ “กำเนิดอันศักดิ์สิทธิ์” เป็นผลงานสร้างสรรค์ของพระสงฆ์วัดโจไซจิ จังหวัดนะงะซะกิ ซึ่งนำบทสวดมนต์มาบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีสมัยใหม่

รองเจ้าอาวาสวัดโจไซจิ บอกว่า แรกเริ่มแล้วบทสวดมนต์ก็มีทำนองคล้ายดนตรี การนำมาบรรเลงร่วมกับดนตรีแจ๊สจะทำให้พุทธศาสนิกชนรู้สึกใกล้ชิดมากขึ้น ทางวัดได้จัดคอนเสิร์ตเปิดอัลบั้ม “เซทัน” ที่วิหารภายในวัดโจไซจิเมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีที่แล้ว และมีทั้งผู้ศรัทธาและประชาชนเข้าร่วมชมมากกว่า 200 คน
บรรดาพระสงฆ์ได้สวดบทสวดมนต์ตามต้นฉบับ โดยมีทำนองดนตรีบรรเลงคลอโดยเปียโน แซ็กโซโฟน กลอง และดับเบิลเบส ขณะที่ผู้เข้าร่วมฟังหลายคนพนมมือน้อมจิตไปตามบทสวดทำนองแจ๊ส

พวกเธอมีนามว่า terapalms กลุ่มไอดอลจากเกียวโต เมืองหลวงเก่าอันเงียบสงบและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันขึ้นชื่อว่ามีวัดวาอารามเก่าแก่อยู่มากมาย วงนี้ถูกก่อตั้งในเดือนพฤศจิกายนปี 2016 ด้วยจุดประสงค์เพื่อโปรโมทวัดให้เป็นที่รู้จักและดึงให้นักท่องเที่ยวแวะเวียนมาเยี่ยมชมเพิ่มขึ้น โดย Ryuho Ikeguchi เจ้าอาวาสหนุ่มวัย 38 ปีแห่งวัด Ryuganji (ริวกันจิ) ที่เป็นวัดในนิกายโจโด (สุขาวดี) ในพระพุทธศาสนา ซึ่งพระในนิกายนี้จะสามารถมีภรรยาได้ ฉันเนื้อได้ และมีวิถีความเป็นอยู่คล้ายฆราวาสทั่วไป

กฏหมายของญี่ปุ่นบังคับให้รัฐบาลห้ามสนับสนุนศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ดังนั้นจึงทำให้วัดในยุคต่อมาจำเป็นต้องมีการสร้างรายได้ขึ้น หากสังเกตวัดหรือศาลเจ้าในญี่ปุ่นจะมีการสร้างของที่ระลึกและเครื่องรางต่างๆ เก็บค่าที่จอดรถ-ค่าเข้า เพื่อสร้างรายได้ให้กับวัด เพื่อให้วัดอยู่รอด

อ้างอิง
https://www.tsemrinpoche.com/…/mc-happiness-in-tokyo.html
 https://news.mthai.com/world-news/251815.html 
https://mgronline.com/japan/detail/9610000014180
 https://anngle.org/th/j-culture/idolinthetemple.html

Advertisement
Continue Reading
Advertisement