Connect with us

ข่าว

วว. พัฒนาแพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูล คาดการณ์พื้นที่เสี่ยงมลพิษทางอากาศ PM2.5

Published

on

PM 2.5

ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ (ศนย.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับ กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) และ บริษัท ไทย แอดวานซ์ อินโนเวชั่น จำกัด ภายใต้งบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พัฒนาแพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพยากรณ์สำหรับการบริหารจัดการปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยใช้ข้อมูลลักษณะของภูมิประเทศ อุตุนิยมวิทยา และอุณหภูมิผกผัน เพื่อคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดมลพิษทางอากาศ

แพลตฟอร์มนี้จะช่วยให้หน่วยงานรัฐสามารถออกประกาศแจ้งเตือนประชาชน และแนะนำโรงงานอุตสาหกรรมหรือเกษตรกร ให้เลือกวันเผาวัสดุการเกษตรในวันที่ลมพัดแรง เพื่อลดการสะสมของฝุ่นพิษ โดยแพลตฟอร์มนี้ใช้ข้อมูล upper air จากระบบ remote sensing วิเคราะห์ปัจจัยด้านอุตุนิยมวิทยาและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผ่านการเรียนรู้ด้วยเครื่อง (machine learning) หรือการเรียนรู้เชิงลึก (deep learning) เพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงการเกิดมลพิษในเขตภูมิศาสตร์อากาศ

จากการศึกษาพบว่า ช่วงเวลาที่เกิดอุณหภูมิผกผันบ่อย คือ ช่วงเช้าตรู่ เวลา 1:00 นาฬิกา และ 7:00 นาฬิกา และช่วงเวลาที่ฝุ่น PM2.5 มีปริมาณมาก คือ ช่วง 7:00 นาฬิกา ถึง 13:00 นาฬิกา โดยข้อมูลเหล่านี้ถูกนำมาปรับเป็นข้อมูลรายเดือน และใช้เทคนิค K-mean clustering ในการประเมินเขตภูมิศาสตร์อากาศ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและรับบริการจากศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรกลอัตโนมัติ วว. ติดต่อได้ที่ call center โทร. 0 2577 9048 หรือที่ระบบบริการลูกค้า “วว. JUMP”