Connect with us

ข่าวแนะนำ

ทำความรู้จัก “Earworm” อาการเพลงหลอนติดหู แค่นึกถึงทำนองก็ลอยมา! ที่คุณไม่ได้เป็นคนเดียว

Published

on

อาการ “Earworm(เอียร์เวิร์ม)” หรือหลายๆที่อาจเรียกว่า “Brainworm” ซึ่งเป็นอาหารที่มีเพลงบางเพลงติดอยู่ในสมองหลังจากฟังเพลงนั้นๆ ทั้งๆที่เพลงนั้นปิดไปแล้วก็ตาม ที่ผ่านมาก่อน “ชิพกับเดล” ก็มีหลายๆเพลง เช่น PPAP , Nyan cat , Ievan Polkka(มิคุควงต้อนหอม) เป็นต้น

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง สุจิตรา ประสานสุข แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหู การได้ยิน และการทรงตัว ศูนย์การได้ยิน โรงพยาบาลกรุงเทพให้ข้อมูล กับเว็บไซต์ goodlifeupdate.com เมื่อวันที่ 14 พ.ค. เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า เสียงที่เราคิดว่า ติดอยู่ในหู แท้จริงแล้วเสียงเหล่านั้นติดอยู่ในสมองเกิดจากจินตนาการของตัวเราเอง  ไม่ใช่อาการติดหูอย่างที่เข้าใจ

ด้าน Vicky Williamson นักวิจัยจาก มหาวิทยาลัย Goldsmiths ในกรุงลอนดอน ค้นพบในการวิจัยที่ไม่ได้ควบคุมสภาพแวดล้อม ว่า เพลงที่สร้างอาหารหลอนหู จะไปกระตุ้นส่วนประสาทที่ไม่สามารถควบคุมได้และไม่ได้ตั้งใจจำ(involuntary memory) โดยสมองจะจดจำ คำบางคำในเพลง หรือทำนองบางทำนอง แล้วมีอารมณ์ร่วมกับเพลงนั้นๆ

Advertisement

คุณสมบัติของเพลงที่มีแนวโน้มจะเป็น earworm คือ จำง่ายมาก และง่ายต่อการร้องตามเป็นทำนองซ้ำๆ (repetitive) เป็นที่สังเกตว่า earworm มักเป็นท่อนฮุกที่เล่นซ้ำไปซ้ำมา เราก็มักจะจำได้แค่ท่อนฮุกนั่นแหละ และสมองจะพยายามหาทางออกจากท่อนฮุกนั้นให้ได้ แต่ “ติดหล่ม” มีการเปลี่ยนแปลงจังหวะ หรือทำนอง ที่กระตุกชวนให้สมองติดตาม

สำหรับวิธีการเบื้องต้นในการแก้ปัญหาเพลงติดหู คือ ร้องเพลงนั้นๆต่อให้จบมากกว่าร้องแค่ท่อนที่ติดหูท่อนเดียว

Advertisement
Continue Reading
Advertisement