Connect with us

บทความ

โควิดรอบใหม่! แจก “เงินเยียวยา” แบบไหนเหมาะสม ? นักวิชาการเสนอแจกเงินถ้วนหน้าได้ทุกคน

Published

on

เงินเยียวยา

บทความโดย กมลธร โกมารทัต

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด-19 ในหลายพื้นที่ ซึ่งต้นเหตุจากไหนคงไม่ต้องเอื้อนเอ่ยกันให้มากความ… เราต่างรู้กันดีอยู่แล้ว จึงขอพูดถึงผลกระทบที่ตอนนี้หลายธุรกิจเริ่มต้องปิดกิจการกันอีกครั้ง หลังตั้งตัวได้จากการโซซัดโซเซด้วยผลกระทบการล็อคดาวน์ในช่วงแรก

ผลกระทบที่เกิดขึ้น ตามกันมาเป็นลูกคลื่นแบบหนีไม่รอด คือ ผู้คนเริ่มตกงานอีกครั้ง ด้วยคำสั่งล็อกดาวน์หรือจำกัดการเดินทางของรัฐ-จังหวัด ซึ่งในเชิงสาธารณสุขก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะควบคุมให้เชื้อหยุดได้เร็วที่สุด

Advertisement

แน่นอนทุกมาตรการ มันมีค่าใช้จ่าย…

โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจ ปากท้อง ที่ประชาชนต้องแบกรับไปเต็ม ๆ

เมื่อทุกอย่างละม้ายคล้ายคลึงเข้าอีหรอบเดิม เหมือนการแพร่ระบาดในเฟส 1 ที่คนตกงานกันหลักล้านคน เราจึงเริ่มได้ยินเสียงของหลายฝ่ายที่ออกมาบอกถึงเรื่องนี้ว่า รัฐบาลควรมีมาตรการเยียวยาออกมารองรับผลกระทบด้วย

ดร.เดชรัต สุขกำเนิด นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ มองถึงเรื่องนี้ว่า ตามหลักการที่ถูกต้อง รัฐบาลควรมีมาตรการเยียวยารองรับความเดือดร้อนให้กับคนตกงาน เพื่อเป็นตาข่ายรองรับผลกระทบ หรือ Safety Net เพื่อเป็นหลักประกันในเบื้องต้น ไม่ให้เกิดปัญหาปากท้องอย่างรุนแรง

Advertisement

จึงมีเสนอว่าให้ออกมาตรการเยียวยาแบบถ้วนหน้า จำนวน 3,000 บาท เป็นระยะเวลา 2 เดือน คล้ายกับรอบแรก แต่ลดมูลค่าลงจากเดิมที่จ่ายให้ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน รวม 15,000 บาท

ตัวเลข 3,000 บาท ก็ไม่ได้มโนขึ้น แต่ใช้หลักว่า ผลกระทบของรอบปัจจุบันยังอยู่ในวงจำกัด และมีมาตรการดูแลด้านสาธารณสุขอยู่แล้ว สิ่งสำคัญคือทุกอย่างต้องทำให้จบเร็วที่สุด จะมามัวลงทะเบียนรอ 3-4 เดือน กว่าจะได้เงินเหมือนรอบแรก เละเทะแน่ ๆ

หากจะแจกเงินแล้วจบ มันก็ไม่ถูกต้อง เพราะผลกระทบมันต้องได้รับการฟื้นฟูด้วย ซึ่ง ดร.เดชรัต ย้ำว่า หลังจากขั้นการเยียวยาเบื้องต้น รัฐบาลควรออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่ เช่น มาตรการจ้างงานในพื้นที่สมุทรสาคร มาตรการท่องเที่ยวในระยองเป็นต้น เพื่อเรียกความเชื่อมั่น

Advertisement

ถัดมาขั้นสุดท้าย คือ ให้มีหน่วยงานเข้าไปดูแลกลุ่มที่ตกงานสะสมตั้งแต่รอบแรกแล้ว แต่ไม่สามารถกลับมาทำงานได้ ซึ่งคนเหล่านี้ล้วนเป็นต้นทุนทางเศรษฐกิจที่ยังมีมูลค่าอยู่มาก เพียงต้องการแรงกระตุ้น การปรับตัว ซึ่งคาดว่าจะมีอยู่ในระบบจำนวน 1-2 ล้านคน เมื่อทำตรงนี้แล้วก็จะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาระยะยาวตามมา

การพูดนั้นง่าย แต่ในความจริงต้องย้อนกลับมาดูด้วยมา เงินน่ะมีไหม? พอดูงบประมาณที่จะนำมาใช้เยียวยานั้น ดร.เดชรัตน์ บอกต่อว่า รัฐบาลยังมีเงินเหลือจาก พ.ร.ก.เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท อยู่ประมาณ 6 แสนล้านบาท ดังนั้น ความสามารถการออกมาตรการจึงถือว่ายังมีอยู่ ทำได้ ขอแค่รัฐบาลใส่ใจแล้วทำให้ไว ทำให้เข้าถึงจริง

อย่างไรก็ตาม… ล่าสุด กระทรวงการคลังออกมาชี้แจงแล้ว ตามที่มีข่าวว่า กระทรวงการคลังจะมีมาตรการเยียวยาแจกเงิน จำนวน 4,000 บาท ขอเรียนว่า ข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

Advertisement

ส่วนรัฐบาลมีเงินหรือไม่นั้น ยืนยันว่าภาครัฐมีแหล่งเงินทั้ง งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นและรายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 กว่า 1.39 แสนล้านบาท รวมถึงเงินกู้ที่เหลือ จำนวน 4.7 แสนล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ธันวาคม 2563) และงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ 2.9 แสนล้าน

Continue Reading
Advertisement