ข่าว
แพทย์เตือนคนไทยป่วยโรคกระดูกและข้อเสื่อมเพิ่มสูงขึ้น ชี้พฤติกรรมเสี่ยงในชีวิตประจำวันเป็นปัจจัยเร่ง

สำนักข่าวบริคอินโฟ – โรงพยาบาลเอส สไปน์ (S Spine Hospital) เตือนถึงสถานการณ์ที่น่ากังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อเสื่อมในประเทศไทย โดยเน้นย้ำว่าภาวะนี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงผู้สูงอายุ แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลให้กระดูกและข้อเสื่อมก่อนวัยอันควร ทางโรงพยาบาลแนะนำให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลรักษากระดูกและข้อตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะเสื่อมก่อนวัย
จากสถิติของโรงพยาบาลเอส สไปน์ (S Spine Hospital) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังแห่งแรกในประเทศไทย พบว่าในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาเกี่ยวกับกระดูกสันหลังเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยทำงานและวัยกลางคน
นอกจากนี้ รูปแบบของปัญหากระดูกสันหลังเสื่อมยังเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่มักพบในบริเวณหลังส่วนล่าง ปัจจุบันกลับมีแนวโน้มการเสื่อมที่เพิ่มขึ้นในกระดูกสันหลังส่วนคอและข้อกระดูก ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบุว่ามีความสัมพันธ์โดยตรงกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลเอส สไปน์ (S Spine Hospital) ได้ชี้ถึงพฤติกรรมหลายประการที่เป็นตัวเร่งให้เกิดภาวะกระดูกและข้อเสื่อมโดยที่หลายคนอาจไม่ทราบ เช่น การนั่งทำงานเป็นเวลานานโดยไม่เคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังอ่อนแรงและเพิ่มแรงกดต่อหมอนรองกระดูกสันหลัง
นอกจากนี้ ท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง เช่น หลังค่อม ไหล่ห่อ หรือโน้มตัวไปข้างหน้า ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญอีกด้วย การยกของหนักผิดวิธี โดยเฉพาะการก้มยกโดยใช้กล้ามเนื้อหลังแทนการใช้กำลังขา ก็เป็นสาเหตุหลักของปัญหาหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือกดทับเส้นประสาท เช่นเดียวกับพฤติกรรมที่มีแรงกระแทกสะสมในชีวิตประจำวัน เช่น การนั่งรถที่มีระบบกันสะเทือนไม่ดี หรือการนั่งเรือเร็ว
นอกจากนี้ พฤติกรรมการนั่งที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ หรือคุกเข่า เป็นเวลานาน ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น รวมถึงการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไปจนเกิดภาวะ “Text Neck Syndrome” หรือภาวะกระดูกคอเสื่อมจากการก้มมองหน้าจอ ซึ่งทำให้กระดูกคอรับน้ำหนักมากกว่าปกติหลายเท่า หากทำเป็นประจำจะส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อคอและเร่งให้เกิดภาวะกระดูกคอเสื่อม
อย่างไรก็ตาม โรคกระดูกสันหลังสามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การควบคุมน้ำหนัก การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อกระดูก และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง
หากมีอาการปวดเรื้อรัง การเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุและการรักษาที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ โดยแนวทางการรักษามีทั้งแบบไม่ผ่าตัด เช่น การทำกายภาพบำบัด การใช้ยา และการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งโรงพยาบาลเอส สไปน์ (S Spine Hospital) มีเทคโนโลยีการผ่าตัดกระดูกสันหลังแบบแผลเล็ก หรือ MIS (Minimally Invasive Spine Surgery) อาทิ การจี้เลเซอร์รักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เทคนิค PSCD
สำหรับอาการปวดคอร้าวลงแขน และเทคนิค PSLD สำหรับโรคหมอนรองกระดูกส่วนหลังตีบแคบหรือปลิ้นทับเส้นประสาท ซึ่งช่วยลดการบาดเจ็บและระยะเวลาการพักฟื้นของผู้ป่วย เพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น โรงพยาบาลเอส สไปน์ (S Spine Hospital) เตรียมขยายการให้บริการโดยจะเปิดโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและข้อแห่งใหม่ โดยยังคงมุ่งเน้นทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อการรักษาที่ครอบคลุม