ข่าว
นิด้า โพล พบ คนไทยอยากให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้วัยทำงานก่อน ตามด้วยวัยเกษียณ จาก 1,300 ตัวอย่าง
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ให้ใครก่อนดี” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15 – 17 กุมภาพันธ์ 2564 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,318 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการฉีด วัคซีนโควิด-19 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงจังหวัดที่ควรเป็นกลุ่มเป้าหมายแรกในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.90 ระบุว่า จังหวัดที่มีการแพร่ระบาดมากในรอบที่ 2 ที่ผ่านมา รองลงมา ร้อยละ 16.77 ระบุว่า เริ่มทุกจังหวัดพร้อม ๆ กัน ร้อยละ 10.70 ระบุว่า จังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ร้อยละ 10.39 ระบุว่า จังหวัดที่อยู่ติดกับชายแดนทั้งหมด และร้อยละ 5.24 ระบุว่า จังหวัดที่มีการลงทุนด้านอุตสาหกรรมสูง
ด้านกลุ่มอายุที่ควรเป็นกลุ่มเป้าหมายแรกในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 38.01 ระบุว่า กลุ่มวัยทำงาน ตั้งแต่ 20 – 59 ปี รองลงมา ร้อยละ 37.10 ระบุว่า กลุ่มผู้สูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป) ร้อยละ 15.10 ระบุว่า เริ่มทุกกลุ่มอายุพร้อม ๆ กัน และร้อยละ 9.79 ระบุว่า กลุ่มเด็กและเยาวชนที่อายุไม่เกิน 20 ปี
เมื่อถามถึงกลุ่มอาชีพที่ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 เป็นกลุ่มเป้าหมายแรก พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.48 ระบุว่าเป็น กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ การสาธารณสุข รองลงมา ร้อยละ 14.41 ระบุว่าเป็น กลุ่มผู้รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 8.87 ระบุว่าเป็น กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านการท่องเที่ยวทุกรูปแบบ ร้อยละ 7.59 ระบุว่าเป็น เริ่มทุกกลุ่มอาชีพพร้อม ๆ กัน ร้อยละ 5.29 ระบุว่าเป็น กลุ่มผู้ประกอบอาชีพด้านการเดินทางและขนส่งทุกชนิด ร้อยละ 4.93 ระบุว่าเป็น กลุ่มนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 4.85 ระบุว่าเป็น กลุ่มเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 4.38 ระบุว่าเป็น กลุ่มข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 3.82 ระบุว่าเป็น กลุ่มพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 3.49 ระบุว่าเป็น กลุ่มพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 1.41 ระบุว่าเป็น กลุ่มเกษตรกร ประมง และร้อยละ 0.48 ระบุว่าเป็น กลุ่มนักการเมือง
ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อการบังคับให้ชาวต่างชาติทุกคนในประเทศไทยฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.54 ระบุว่า ควรบังคับชาวต่างชาติทุกคนให้ฉีดวัคซีน รองลงมา ร้อยละ 28.22 ระบุว่า ควรเป็นไปตามความสมัครใจในการฉีดวัคซีน ร้อยละ 26.25 ระบุว่า ควรบังคับเฉพาะชาวต่างชาติกลุ่มเสี่ยงให้ฉีดวัคซีน และร้อยละ 0.99 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 ให้กับชาวต่างชาติในประเทศไทย พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 38.92 ระบุว่า ชาวต่างชาติทุกคนต้องเสียเงินในการฉีดวัคซีนเอง รองลงมา ร้อยละ 31.72 ระบุว่า ชาวต่างชาติที่เสียภาษีถูกต้องเท่านั้นที่ควรได้รับการฉีดวัคซีนฟรี ร้อยละ 25.72 ระบุว่า ชาวต่างชาติทุกคนควรได้รับการฉีดวัคซีนฟรี ร้อยละ 0.68 ระบุว่า ชาวต่างชาติกับรัฐบาลจ่ายคนละครึ่ง และร้อยละ 2.96 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.88 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.79 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.36 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.54 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.43 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.86 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.14 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 6.53 มีอายุไม่เกิน 25 ปี ร้อยละ 17.60 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 20.94 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 34.52 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 20.41 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 94.99 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.72 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.76 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.53 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 22.99 สถานภาพโสด ร้อยละ 72.91 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.57 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.53 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่างร้อยละ 30.12 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 33.99 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.38 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 23.90 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.93 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.68 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 10.32 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 11.83 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.76ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.51 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.31 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 21.85 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.58 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.08 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 0.76 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 21.02 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.70 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.99 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 9.94 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.16 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 5.24 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาท ขึ้นไป และร้อยละ 8.95 ไม่ระบุรายได้