บทความ
เปิดเรื่อง พ.ร.บ.รถยนต์ ที่คุณควรรู้ เพื่อให้มั่นใจในการขับขี่ได้อย่างต่อเนื่อง

สำหรับผู้ที่ขับขี่รถยนต์การทำ พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้คุณได้รู้สึกอุ่นใจขณะใช้รถใช้ถนน ซึ่งนอกจากจะช่วยคุ้มครองผู้ขับขี่แล้ว พ.ร.บ.รถยนต์บางประเภทยังช่วยคุ้มครองผู้ที่ถูกอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างครอบคลุมด้วย แต่สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งซื้อรถ การได้รู้ถึงความสำคัญของการทำประกันรถยนต์ยังจะช่วยให้คุณได้ขับขี่รถอย่างมั่นใจ
เรามาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่เราต้องใส่ใจกับเรื่องของการซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์ กันบ้าง จะได้ช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้กับทุกการเดินทางของคุณ
มารู้กันก่อนว่า พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร?
ผู้ที่มีรถยนต์ทุกคนรู้ดีอยู่แล้วว่า กฎหมายได้บังคับให้รถทุกคันต้องทำประกัน พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประกันภัยจากรถ ซึ่งกฎหมายได้กำหนดให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำประกันภัยประเภทนี้เพื่อคุ้มครองบุคคลที่ได้รับจากการเกิดอุบัติเหตุจากรถยนต์ โดยไม่คำนึงว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุจะเป็นผู้กระทำความผิดหรือไม่
แล้วเราจะได้อะไรจากการทำ พ.ร.บ.รถยนต์ บ้าง?
ในการทำ พ.ร.บ. ผู้ขับขี่จะได้สิทธิประโยชน์จากการคุ้มครอง ในกรณีที่เกิดอุบัติ ซึ่งเราขอพูดถึงกรณีที่ผู้ทำพรบจะได้รับประโยชน์หากมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น แต่จะมีเรื่องใดบ้างนั้นไปหาคำตอบกันได้เลย
- ในกรณีเสียชีวิตหรือพิการหรือสูญเสียอวัยวะจากอุบัติเหตุ สามารถเบิกเงินได้ 35,000 บาท
- ในกรณีที่ผู้ขับขี่เป็นฝ่ายถูกจะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้สูงสุดคนละ 80,000 บาท
- ในกรณีที่ผู้ขับขี่เป็นฝ่ายถูก และเกิดการเสียชีวิตหรือพิการ จะได้รับสินไหมทดแทนคนละ 300,000 บาท
- ในกรณีที่ผู้ขับขี่เป็นฝ่ายถูกและสูญเสียอวัยวะจะสามารถเบิกค่าสินไหมได้ต่างกัน ดังนี้ หากสูญเสียนิ้วจะได้ค่าสินไหม 200,000 บาท และถ้าหากสูญเสียอวัยวะใด 1 ส่วน จะได้รับสินไหม 250,000 หรือสูญเสียอวัยะ 2 ส่วนขึ้นไป จะได้รับค่าสินไหม 300,000 บาท
- สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามจริงไม่เกินคนละ 30,000 บาท ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด ซึ่งคุ้มครองทันทีหลังการเกิดอุบัติเหตุ
- ในกรณีที่ผู้ขับขี่เป็นฝ่ายถูก และต้องนอนโรงพยาบาลจะได้รับค่าสินไหมทดแทนวันละ 200 บาท แต่ไม่เกิน 20 วัน
- ไม่คุ้มครองค่าซ่อมรถในทุกกรณี
เมื่อ พ.ร.บ.รถยนต์ขาด จะเกิดผลอย่างไร?
นอกจากการทำพรบรถยนต์จะมีความครอบคลุมในเรื่องของค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแล้วก็จะช่วยให้เราเกิดความอุ่นใจในการขับขี่มากยิ่งขึ้น แต่ถ้าพรบขาดจะมีผลกระทบอย่างไรหากเกิดอุบัติเหตุ ไปหาคำตอบกัน
1. หาก พ.ร.บ. ขาด และเกิดอุบัติเหตุจะไม่สามารถเบิกค่ารักษาอะไรได้เลย
2. หาก พ.ร.บ. ขาด มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 และไม่สามารถต่อภาษียานพาหนะได้