Connect with us

ข่าว

กรมวิชาการเกษตร ยกระดับกาแฟไทยสู่มาตรฐานสากล เดินหน้า Roadshow โชว์ “Thailand Best Coffee Beans”

Published

on

กาแฟไทย

กรมวิชาการเกษตรจัดประกวดสุดยอดกาแฟไทยปี 2567 ชูแนวคิด “การผลิตกาแฟเพื่อความยั่งยืน” เปิดเวทีประมูล Roadshow และนำกาแฟไทยบุกงาน Taiwan International Coffee Show 2024 ณ กรุงไทเป หวังยกระดับมาตรฐานกาแฟไทยสู่สากล พร้อมเผย ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ พัฒนาพันธุ์กาแฟ “กวก.เกอิชา” พันธุ์พืชขึ้นทะเบียนล่าสุด

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานมอบรางวัลการประกวดสุดยอดกาแฟไทย ประจำปี 2567 โดยมี ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้จัดกิจกรรมภายใต้แนวคิด “การผลิตกาแฟเพื่อความยั่งยืน” (Sustainable Coffee Production) เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการส่งเสริมให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงปลูกกาแฟ

การประกวดปีนี้ กรมวิชาการเกษตร ร่วมมือกับ บริษัท Big Black Box, Q Project Thailand และสถาบันคุณภาพกาแฟระดับโลกอย่าง CQI (Coffee Quality Institute) โดยมี Thomas Ameloot กรรมการตัดสินกาแฟระดับโลก และ Steven Puvalski นักคั่วกาแฟระดับโลก ร่วมเป็นกรรมการตัดสิน มีเกษตรกรส่งผลงานเข้าประกวด 245 ราย แบ่งเป็นการประกวดเมล็ดกาแฟ 196 ราย และการประกวดสวนกาแฟเชิงยั่งยืน (GAP) 49 ราย สำหรับผู้ชนะการประกวด กรมวิชาการเกษตร ได้จัด Roadshow นำกาแฟที่ติด Top 10 ของแต่ละ Process ไปประมูล ณ เชียงใหม่ ขอนแก่น ภูเก็ต และกรุงเทพฯ และนำกาแฟ “Thailand Best Coffee Beans” ไปร่วมงาน Taiwan International Coffee Show 2024 ณ กรุงไทเป ประเทศไต้หวัน เพื่อเพิ่มโอกาสขยายตลาดกาแฟไทยในต่างประเทศ พร้อมยกระดับมาตรฐานกาแฟไทยสู่สากล

ผู้ชนะเลิศการประกวด เมล็ดกาแฟอะราบิกา 3 ประเภท  มีดังนี้

  1. ประเภท กาแฟอะราบิก้า กระบวนการแปรรูป Wet process ผู้ชนะได้แก่ นายวิชัย  กำเนิดมงคล จังหวัดน่าน
  2. ประเภท กาแฟอะราบิก้า กระบวนการแปรรูป Dry process ผู้ชนะได้แก่ นายพิเชฐ  กล้าพิทักษ์ จังหวัดน่าน
  3. ประเภท กาแฟอะราบิก้า กระบวนการแปรรูป Honey process ผู้ชนะได้แก่ นายฉิ่ง  แซ่ท้าว จังหวัดน่าน
  4. ประเภท โรบัสตา ผู้ชนะได้แก่ นายภีร์นริศ์  ผ่องหทัยกุล จังหวัดน่าน
  5. ประกวดสวนกาแฟเพื่อความยั่งยืนตามหลักการเกษตรเชิงฟื้นฟู (GAP & Regenerative) ผู้ชนะได้แก่ นายถาวร จิรนันทนุกุล จังหวัดน่าน

“นับเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมกาแฟไทย ที่จะขยายธุรกิจและลงทุนในตลาดที่กำลังเติบโตเช่นประเทศจีนและสหราชอาณาจักร สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนได้ ต้องให้ความสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ การพัฒนาสายการผลิตอย่างยั่งยืน การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในการผลิตกาแฟคุณภาพมูลค่าสูง เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก” นายรพีภัทร์ กล่าว

Advertisement