ข่าว
เตือนภัยไซเบอร์ พบ คนร้ายทำเว็บปลอมพร้อมคลิป Deepfake หลอกคน
จากข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567 มีรายงานคดีหลอกลวงออนไลน์จำนวน 575,507 คดี มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 65,715 ล้านบาท คิดเป็นความเสียหายเฉลี่ยมากกว่า 80 ล้านบาทต่อวัน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ออกคำเตือนว่าปัจจุบันมิจฉาชีพใช้เทคโนโลยี Deepfake มากขึ้นเพื่อหลอกลวงผ่านวิดีโอหรือรูปภาพที่สมจริงซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงร้ายแรง ตัวอย่างเช่น มิจฉาชีพทางโทรศัพท์หรือแก๊งคอลล์เซ็นเตอร์ ใช้เพื่อแอบอ้างเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถือ เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อทำธุรกรรมฉ้อโกง เรียกร้องเงิน หรือหลอกถามข้อมูลส่วนตัว
- อ่าน : HONOR เปิดตัว ระบบตรวจจับ Deepfake บนมือถือ วิดีโอคอลปุ๊บ ตรวจได้ปั๊บ
- อ่าน : ทำความรู้จัก DeepFake ใช้ AI สร้างคลิปปลอมของคนดัง ที่ปลอมยันเสียงและท่าทาง
นักวิจัยจาก Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ พบการหลอกลวงจำนวนมากโดยใช้วิดีโอปลอมที่มีภาพเหมือนบุคคลสาธารณะต่างๆ ทั่วโลก เช่น ซีอีโอ ผู้ประกาศข่าว และเจ้าหน้าที่รัฐ นอกจากนี้แล้ว การปลอมแปลงเว็บไซต์ (Web-based deepfake scams) จัดเป็นภัยคุกคามใหม่ที่ต้องระวังและติดตาม ในเดือนมิถุนายน 2557 Unit 42 พบโดเมนหลายร้อยแห่งทีโดเมนปลอมแปลง โดยแต่ละโดเมนมีผู้เข้าถึงโดยเฉลี่ย 114,000 รายทั่วโลก อีกทั้งโดเมนเหล่านี้มีอายุการใช้งานค่อนข้างยาวนาน โดยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 142 วัน ซึ่งแตกต่างจากโดเมนฟิชชิ่งหรือมัลแวร์ทั่วไป
ปิยะ จิตต์นิมิตร ผู้จัดการประจำประเทศไทยของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์ก กล่าวว่า “Deepfake ไม่ใช่เรื่องใหม่ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้คุกคามใช้เทคนิคที่มีความสร้างสรรค์มากขึ้นในการใช้เทคโนโลยีเพื่อฉ้อโกง แม้ว่าจะมีการใช้ GenAI เพื่อหลอกลวง แต่เทคนิคการตรวจสอบแบบดั้งเดิมยังคงมีประโยชน์ในการระบุเว็บโฮสต์ ที่โจรไซเบอร์นำมาใช้ ในกรณีนี้ การใช้เครื่องมือตรวจจับพิเศษ เช่น การกรอง URL ขั้นสูง ซึ่งสามารถตรวจจับและบล็อกเว็บไซต์ที่ใช้ในการเผยแพร่แคมเปญหลอกลวง และช่วยป้องกันภัยไซเบอร์ได้ดียิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่ามีปรากฎการณ์การใช้งานเทคโนโลยี Deepfake ที่เป็นอันตรายเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้คุกคาม ดังนั้น เราจึงต้องเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจจับและป้องกันการโจมตีใหม่ๆ เพื่อให้ครอบคลุมการใช้งาน”