Connect with us

ข่าว

NECTEC-ACE 2024 เปิดวิสัยทัศน์ AI – Big Data ที่ดี ต้องมี “เซ็นเซอร์” ที่แม่นยำ

Published

on

NECTEC-ACE 2024

ผอ. เนคเทค มอง อนาคต AI – Big Data ที่ดี ต้องมี “เซ็นเซอร์” ที่แม่นยำ เตรียมความพร้อมนักวิจัยไทยในสถานการณ์โลก ในงาน NECTEC-ACE 2024 พร้อมมองโอกาสในตลาดเซ็นเซอร์ และ เซมิคอนดักเตอร์ ว่า ไทยมีโอกาส แต่ต้องหาจุดยืนของตัวเองให้เจอ

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. จัดงาน การประชุมวิชาการและนิทรรศการเนคเทค ประจำปี 2567 (NECTEC-ACE 2024) ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด ฐานรากเทคโนโลยีก้าวไกล พัฒนาไทยก้าวหน้า “เปิดโลกเทคโนโลยียุคใหม่ ด้วยเซนเซอร์ไทยอัจฉริยะ (The Next Era of Thai Intelligent Sensors)” โดยมี ศาตราจารย์บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ประธานกรรมการ
คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) เป็นประธาน พร้อมด้วย ดร.จันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) , ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช. , ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการ เนคเทค และพันธมิตร ร่วมเปิดงานประชุมในครั้งนี้

AI – Big Data ที่ดี ต้องมี “เซ็นเซอร์” ที่แม่นยำ

ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สวทช.  ระบุว่า ธีมงาน NECTEC-ACE ปีนี้ เนคเทค มุ่งเน้นไปที่เซ็นเซอร์รับข้อมูล เพราะ เซ็นเซอร์คือหูและตาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพราะหากเซ็นเซอร์รับข้อมูลคลาดเคลื่อน ก็จะส่งผลต่อการประมวลผลโดยตรง อาจทำให้การคำนวณคลาดเคลื่อน ดังนั้นเนคเทคจึงมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเซ็นเซอร์ให้แม่นยำและกลายเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีอื่นๆต่อไป

ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการ เนคเทค ระบุว่า เนคเทค สวทช. ทำหน้าที่ในการสร้างพื้นฐานสำคัญให้กับเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะนำมาพัฒนาในอนาคต และ เนคเทค มีหน้าที่ผลักดันงานวิจัยไปสู่การใช้งานจริง ที่ผ่านมามีผลงานต่าง ๆ ได้รับการใช้งานจริงจนมีผู้ใช้หลักล้านผู้ใช้ และธีมในงานในปีนี้ คือเรื่องของ ฐานรากเทคโนโลยี อย่างเซ็นเซอร์รับข้อมูล เพราะในอนาคต หากจะพัฒนา AI ที่แม่นยำ ต้องมี Big Data หรือ ข้อมูลจำนวนมาก ที่ถูกต้องและละเอียดมากพอ เพื่อทำให้ AI สามารถประมวลผลได้อย่างแม่นยำ ดังนั้นการมีเซ็นเซอร์ที่พัฒนาโดยนักวิจัยไทย จึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อตอบโจทย์การพัฒนารากฐานของเทคโนโลยีที่สำคัญอีกด้วย

“ตลอด 5 ปีทึ่ผ่านมา งาน NECTEC-ACE เป็นงานที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีต่าง ๆ จากนักวิจัยไทย หากย้อนกลับไปในปี 2562 เนคเทคได้นำเรื่องของ AI และนำเสนอแพลตฟอร์ม AI for Thai เพราะจากการคาดการณ์ของเนคเทค ณ เวลานั้น เชื่อว่า AI จะมาเปลี่ยนโลก และเมื่อ ChatGPT เปิดตัวในปี 2563 เทคโนโลยี AI ก็มาจริง ๆ”

“เราพูดถึงเทคโนโลยีเทคโนโลยีต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็น AI และ Big Data แต่ทั้งหมดจำเป็นที่จะต้องย้อนกลับมาที่รากฐานของข้อมูลที่สำคัญ นั้นก็คือเซ็นเซอร์รับข้อมูล ซึ่งทำหน้าที่เปรียบเสมือนประสาทสัมผัสของ AI เพื่อรับข้อมูลไปประมวลผลที่แม่นยำ” ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการ เนคเทค ระบุ

ที่ผ่านมา เนคเทค มีการพัฒนาและวิจัยเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2538 และมีการศึกษาพัฒนาวิจัยเรื่อยมาโดยในช่วง 10 ปีแรก มีเซ็นเซอร์ล้ำสมัยมากมาย อาทิ เซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ และในช่วง 10 ปีถัดมาก็มีการพัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจวัดกลิ่น และ เซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิบนพื้นผิว และหลายหลายเทคโนโลยีเองสามารถพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้แล้ว

Advertisement

เซ็นเซอร์และเซมิคอนดักเตอร์ โอกาสแห่งอนาคตของไทย

ขณะเดียวกันภาพรวม Ecosystem ของธุรกิจเซ็นเซอร์และเซมิคอนดักเตอร์ คือ เริ่มจากกลุ่มออกแบบเซ็นเซอร์-เซมิคอนดักเตอร์ , กลุ่มที่ออกแบบเพื่อนำไปสู่การผลิตเซมิคอนดักเตอร์จริง , โรงงานผลิตเซ็นเซอร์-เซมิคอนดักเตอร์ , โรงงานประกอบเซ็นเซอร์-เซมิคอนดักเตอร์ให้เป็นชิป , โรงงานที่นำเซมิคอนดักเตอร์ไปผลิตแผงวงจร , โรงงานประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และไปจบที่ ผู้บริโภค ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเนคเทคเพื่อพัฒนาส่วนนี้

ดร.ชัย ระบุว่า สำหรับประเทศไทย หากเราจะแข่งขันในตลาด เซ็นเซอร์ และ เซมิคอนดักเตอร์ เราจะต้องมองหาโอกาสของตัวเองในระดับโลกหรือภูมิภาค เพราะ ความต้องการใช้งานในประเทศไทยไม่เพียงพอต่อการลงทุนโรงงานผลิตเซ็นเซอร์ หรือ เซมิคอนดักเตอร์ ด้วยตัวเอง ดังนั้นโอกาสที่จะเป็นไปได้สำหรับไทย คือ การพัฒนานักออกแบบเซ็นเซอร์ หรือ เซมิคอนดักเตอร์ ให้ตอบโจทย์เชิงพาณิชย์ได้

ขณะเดียวกัน ผอ. เนคเทค มองว่า สถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) อาจทำให้ไทยมีแต้งต่อในตลาดเซ็นเซอร์ และ เซมิคอนดักเตอร์ เช่นการดึงดูดโรงงานอุตสาหกรรมไฮเทค ผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ มาตลั้งโรงงานได้ แม้ว่าจะเป็นเม็ดเงินลงทุนที่มหาศาลหลักหมื่นล้านก็ตาม อย่างไรก็ตามสิ่งที่สามารถทำได้เลยและพัฒนาได้ในงบประมาณที่ได้รับจัดสรร คือ พัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเซ็นเซอร์ และ เซมิคอนดักเตอร์โดยฝีมือคนไทย

หลังจากนี้ เนคเทค จะมุ่งเน้นการพัฒนาเซนเซอร์ต่าง ๆ ที่จะเป็นที่ต้องการในอนาคต อาทิ Quantum Sensor ที่ใช้ตรวจวัดคลื่นที่อ่อนมากๆ เช่น คลื่นสมอง , Terahertz Sensor ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ใหม่ที่สามารถใช้งานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการเอ็กซเรย์หรือโครงข่าย 6G ที่จะมาในอนาคต เป็นต้น

สำหรับการจัดงาน NECTEC-ACE 2024 ในครั้งนี้จัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 17 ยังได้รับการสนับสนุนและความร่วมมืออย่างดีจากพันธมิตรหน่วยงานภาครัฐและเอกชนรวม 26 หน่วยงาน และมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน โดยภายในงานมีการจัดแสดงผลงานต่าง ๆ กว่า 50 บูธ และการสัมมนาเชิงวิชาการ 7 หัวข้อ โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตามบันทึกการสนทนาย้อนหลังได้ผ่านทางเว็บไซต์ https://www.nectec.or.th/ace2024/ ได้ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน เป็นต้นไป

Continue Reading
Advertisement