Connect with us

ข่าว

ลำปาง ฟื้นฟูวัฒนธรรมการผิงไฟกันหนาวในยามเช้าและเผาข้าวหลาม หวังส่งเสริมการพูดคุยในชุมชน ลดปัจจัยเสี่ยง

Published

on

ผิงไฟยามเช้าเล่าสู่กันฟัง

วันนี้ ที่ชุมชนหมู่บ้านท่าขัว ฟื้นฟูวัฒนธรรมการผิงไฟกันหนาวในยามเช้าและเผาข้าวหลาม ในโครงการสร้างเสริมสุขภาวะของสถาบันพระพุทธศาสนา เพื่อการลดปัจจัยเสี่ยงในพื้นที่จังหวัดลำปาง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในวัดและชุมชน ตามกรอบการดำเนินงานวัดต้นแบบลดปัจจัยเสี่ยงทั้งภายในและภายนอกวัด โดยชุมชนวัดท่าขัว ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยมีพระครูโสภณวีรบัณฑิต,ผศ. เจ้าอาวาสวัดท่าขัว / อาจารย์ มจร. วส.ลำปาง ให้ความเมตตาเล่าความเป็นมาของการเผาข้าวหลาม ถามทุกข์สุข ของคนในชุมชนตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา และผศ.ดร.ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์ หัวหน้าโครงการฯ นำพ่อแม่ พี่น้อง ชาวบ้าน บ้านท่าขัวเข้าร่วมกิจกรรม ณ ลานอเนกประสงค์วัดท่าขัว ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

กิจกรรมนี้ชุมชนบ้านท่าขัวได้ร่วมกันฟื้นฟูวัฒนธรรมการผิงไฟกันหนาวในยามเช้าและเผาข้าวหลาม นำมาเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมสุขภาวะผ่านการสนทนา ถามสารทุกข์สุขดิบ และเฝ้าระวังต้นตอปัญหาต่างๆ ในชุมชน บวร(บ้าน วัด โรงเรียน) ยังคงมีความสำคัญในการบูรณาการกิจกรรมและภาระหน้าที่ของคณะสงฆ์และภาคีเครือข่ายในการเสริมสร้างสุขภาวะของสถาบันพระพุทธศาสนาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในพื้นที่จังหวัดลำปาง กิจกรรมมีทุกวันพุธ ของทุกสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม 2566 ถึง เดือนมีนาคม 2567 ณ ลานอเนกประสงค์วัดท่าขัว ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ทั้งนี้โดย พระครูโสภณวีรบัณฑิต,ผศ. เจ้าอาวาสวัดท่าขัว อาจารย์ มจร. วส.ลำปาง กล่าวว่า “สำหรับกิจกรรมของผู้สูงอายุบ้านท่าขัวได้จัดขึ้นในครั้งที่ 2 โดยครั้งแรกได้ประสบปัญหากับโรคโควิดระบาด ปีนี้ในช่วงออกพรรษาครั้งนี้พระอาจารย์ก็คิดว่าเป็นโอกาสดีที่โรคภัยไข้เจ็บได้หายเบาบางไปแล้ว ก็เลยชวนชาวบ้านผู้เฒ่า ผู้แก่ มารวมตัวกัน โดยใช้ชื่อกิจกรรมว่า “ออกพรรษา หน้าหนาว เผาข้าวหลาม ถามทุกข์สุข” อย่างเช่น วันนี้ก็จะเริ่มจากกิจกรรมภาพเก่าเล่าเรื่อง แล้วก็นำเรื่องเก่าๆของโบราณในอดีตของหมู่บ้านท่าขัว ที่คนในยุคปัจจุบัน ไม่ทราบ และได้พากันเอามาเล่าสู่กันฟัง

ซึ่งเมื่อได้สนทนากับชาวบ้าน ทราบว่าหลวงพ่อครูบาวงศ์ เดิมเป็นคนบ้านถ้ำ อำเภอเมืองปาน หลวงพ่อเก่งในเรื่องของยาสมุนไพรและในอดีตท่านก็ได้รวบรวมสมุนไพรมาปลูกไว้ที่วัดและเก็บสมุนไพรต่างๆเอามาปรุงเป็นยารักษาโรค เช่น โรคมะเร็งหรือโรคต่างๆที่คนโบราณมีความเชื่อว่ายาสมุนไพรนี้รักษาได้ หรือรวมไปถึงคาถาอาคมต่างๆที่หลวงพ่อมีอยู่ และวัดท่าขัวนี้ก็เสมือนเป็นสุศาลา ในยุคปัจจุบันก็คือ รพ. สต.ก็ว่าได้ ซึ่งศาลาเป็นที่อยู่ของเณร ในอดีตก็เป็นที่อยู่ของคนป่วย หลวงพ่อนำมารักษา ฉะนั้นถือได้ว่าวัดท่าขัวถือว่าเป็นต้นกำเนิดของยาสมุนไพรที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ปัจจุบันหลักฐานที่ปรากฏไว้ว่าวัดท่าขัวมีชื่อเสียงของยาสมุนไพร เพราะว่ามีตำรายาดีๆอีกหลายชนิด

“พระอาจารย์ก็ได้มารับช่วงต่อในช่วงหลังๆก็เจอตำรายาสมุนไพรเยอะแยะและได้เก็บไว้ในตู้ และใช้เวทีช่วงพญาแห่งนี้แนะนำชาวบ้านมาช่วยกัน ใครที่อ่านตัวหนังสือพื้นเมืองเป็นก็ให้มาช่วยอ่าน รื้อฟื้นตำรายาและช่วยกันรื้อฟื้นว่ายาสมุนไพรดีๆที่อยู่ในหมู่บ้านมีอะไรบ้าง ก็จะเป็นการฟื้นฟูเอาตำรายาในอดีตมาใช้ในปัจจุบันและบางสิ่งบางอย่างอาจจะต่อยอดต่อไป เช่น สูตรยาสมุนไพรนี้ให้กับทางผู้สูงอายุหรือชมรมรักษ์สมุนไพรนำไปพัฒนาต่อไป เพื่อให้เป็นยารักษาโรค และที่สำคัญ คือเวทีของผู้สูงอายุในวันนี้เป็นกิจกรรมภาพเก่าเล่าเรื่องเป็นการย้อนอดีต เป็นการทบทวนประวัติที่มาที่ไปของวัดของหมู่บ้านแล้ว” พระครูโสภณวีรบัณฑิต เล่า

Advertisement

ในสัปดาห์หน้าซึ่งตรงกับวันพุธที่ 13 ธันวาคม ก็จะมีกิจกรรมประกวดข้าวหลาม เน้นข้าวหลามล้านนา หมายความว่า คนโบราณเขาทำข้าวหลามด้วยภูมิปัญญาอย่างไร เราก็จะเอาสิ่งนั้นมารื้อฟื้น แล้วก็มีการประกวด เน้นรสชาติแบบธรรมดาแบบดั้งเดิม ซึ่งปัจจุบันข้าวหลามมีการพัฒนาไปเยอะ มีการใส่กะทิ ใส่ไข่ อีกหลายอย่าง แต่เราจะเน้นของโบราณว่าของโบราณแท้ๆมีแบบไหนและสัปดาห์ต่อไปเราก็จะมีการประกวดเครื่องสักการะล้านนา ใครที่ทำสวยกาบ สวยๆก็จะได้นำมาสาธิตให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อไปในอนาคต”

Continue Reading
Advertisement