Connect with us

ข่าว

สสจ.ลำปาง รายงานสถานการณ์ล่าสุด ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิก้า ในพื้นที่ 3 อำเภอ.

Published

on

ผู้สื่อข่าว : ปนัดดา ฉิมพัด ผู้สื่อข่าวลำปาง  
เรียบเรียง : กองบรรณาธิการ Brickinfo

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลำปาง นายประเสริฐ กิจสุวรรณรัตน์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ โรคติดต่อนําโดยยุงลายจังหวัดลำปาง 1. โรคไข้เลือดออกสถานการณ์โรคไข้เลือดออกประเทศไทยปี 2562 มีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงกว่าปี 2561 ข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 17 กรกฎาคม 2562 พบว่ามีผู้ป่วย 49,174 ราย เสียชีวิต 64 รายซึ่งสูงกว่าปี 2561 ในช่วงเวลาเดียวกันถึง 1.52 เท่า เช่นกันกับจังหวัดลำปาง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 23 กรกฎาคม 2562 พบผู้ป่วย 398 ราย ปี 2561 พบ199 ราย ซึ่งสูงกว่าปี 2561 ถึง 2 เท่า พบผู้ป่วยใน 13 อำเภอ อำเภอที่มีอัตราป่วยสูงที่สุด 3 ลำดับ คือ สบปราบ แม่เมาะและแม่พริกจังหวัดลำปางพบอัตราป่วยไข้เลือดออกอันดับที่ 54 ของประเทศเป็นอันดับที่ 2 ของภาคเหนือตอนบนปัจจุบันพบการระบาดใน 5 อำเภอได้แก่ หมู่ 4 ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง ,หมู่ 4 ตำบลจางเหนือ อำเภอแม่เมาะ , หมู่ 1 ตำบลนาแส่ง อำเภอเกาะคา ,หมู่ 1 ตำบลสันดอนแก้ว อำเภอแม่ทะและหมู่ 5 ,หมู่ 11 ,หมู่ 12 ตำบลสบปราบ อำเภอสบปราบ พบผู้ติดเชื้อแยกเป็นอำเภอดังนี้ อำเภอสบปราบจำนวน 85 ราย แม่เมาะ 112 ราย แม่พริก 31 ราย แม่ทะ 34 ราย เกาะค่า 23 ราย เมืองลำปาง 68 ราย เถิน16 ราย ห้างฉัตร 8 รายเสริมงาม 4 ราย งาว 7 ราย แจ้ห่ม5 ราย เมืองปาน 3 รายวังเหนือ 2 ราย รวม 987

  1. โรคติดเชื้อไวรัสซิกาจังหวัดลำปาง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึง 23 กรกฎาคม 2562 พบผู้ป่วยยืนยัน 8 ราย ปี 2561 พบ 27 ราย และพบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค PUI 48 ราย ปี 2561 พบ 27 ราย ที่อำเภอแม่ทะ อำเภอแม่เมาะและอำเภอห้างฉัตร และมีแนวโน้มที่สถานการณ์ของโรคจะแพร่กระจายไปอีกหลายพื้นที่ในจังหวัดลำปาง
    ส่งผลกระทบกับประชาชนโดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่อาจเกิดการติดเชื้อไวรัสซิกา ทำให้ทารกที่คลอดออกมามีโอกาสเกิดความผิดปกติทางโครงสร้างขึ้นได้เช่น หัวลีบนอกจากนี้ยังอาจจะพบความผิดปกติทางอื่นร่วมด้วยเช่นความผิดปกติเกี่ยวกับ ตาอย่างรุนแรง ซึ่งได้ตรวจหญิงตั้งครรภ์กว่า 300 รายในจังหวัดลำปางยังไม่มีใครติดเชื้อไววรัสซิก้า แต่ต้องเฝ้าระวังสม่ำเสมอ
  2. โรคไข้ป่วยข้อยุงลายและชิคุนกุนยา สถานการณ์โรคไข้ปวดข้อยุงลายประเทศไทยปี 2562 มีแนวโน้มที่จะมีการระบาดมากกว่า 2561 ข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึง 18 กรกฎาคม 2562 พบผู้ป่วย 4,929 ราย จังหวัดลำปางตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 23 กรกฎาคม 2562 พบการระบาด 2 ครั้ง ในพื้นที่อำเภองาว ครั้งที่ 1 ที่ตำบลบ้านร้อง อำเภองาว พบผู้ป่วยยืนยัน 8 ราย และมีผู้ที่เข้าข่ายค่า 54 ราย โดยสาเหตุมาจากมีผู้ป่วยจากจังหวัดภูเก็ตเดินทางมาในพื้นที่และครั้งที่ 2 ที่ตำบลบ้านแหงพบผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย และมีผู้สงสัย 18 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างการสอบสวนหาสาเหตุของการเกิดโรคลำปางพบผู้ป่วยล่าสุดปี 2552 จังหวัดลำปางอัตราป่วยโรค ไข้ปวดข้อยุงลาย อันดับที่ 23 ของประเทศ เป็นอันดับ 2 ของภาคเหนือตอนบน

สำหรับมาตรการในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนําโดยยุงลายหนึ่งรณรงค์จิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออก ด้วยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย บิ๊กคลีนนิ่งเดย ์ในบ้านของตนเอง และชุมชนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวมถึงในพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เช่นโรงเรียน โรงธรรมโรงแรมโรงงาน และสถานที่ราชการอย่างต่อเนื่อง 2 การป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัดโดยการนอนในมุ้ง ใช้โลชั่นทากันยุง 3 หากมีอาการไข้สูงทานยาแล้วไม่ดีขึ้น หรือสงสัยว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกควรไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานพยาบาลใกล้บ้าน ย้ำว่า ไวรัสซิก้า มียุงลายเป็นพาหะ ซึ่งมีปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้ออย่างรวดเร็ว คือ 1 ยุงลายมีการแพร่กระจายจำนวนมากในพื้นที่ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเขตร้อน อุณหภูมิและความชื้น และประชาชนยังขาดภูมิคุ้มกันในการต้านทานเชื้อ ส่วนลักษณะอาการผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีผื่นที่ผิวหนัง และบางส่วนจะตาแดง เพราะเยื่อบุตาอักเสบซึ่งแตกตางจากโรคไข้เลือดออก ที่มีอาการไข้ ปวดกล้ามเนื้อรุนแรง และเมื่อไข้เริ่มลด อาจมีอาการรุนแรงแทรกซ้อนเฉียบพลันซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงอาการ เลือดออก ที่เป็นจุดเริ่มต้น และหนึ่งในสาเหตุหลักๆ ที่ผู้ป่วยมีอาการปวดข้อรุนแรงที่มือ เท้า หัวเข่า และหลัง จนอาจไม่สามารถดำเนินกิจกรรมตามปกติได้ และอาจเสียชีวิตในที่สุดทั้งนี้จังหวัดลำปางได้มีการวางมาตรการเป้าหมาย กำหนดให้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายกลายเป็น 0 ภายใน 7 วัน และไม่ให้มีขยะหรือภาชนะ ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ ของหมู่บ้านที่มีการพบการติดเชื้อ

นอกจากนี้ทางจังหวัดลำปาง ยังได้มีการกำหนดให้ดำเนินการ Big cleaning กำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้าน และนอกบ้านทุกหลัง รวมถึงพื้นที่สาธารณะของแต่ละชุมชน พร้อมทั้งวางมาตรการสร้างการรับรู้ และให้ความรู้แก่ประชาชน และหญิงมีครรภ์ในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อให้เกิดการรู้เท่าทัน สามารถป้องกันตนเองจากยุงกัดได้.

Continue Reading
Advertisement