Connect with us

ข่าวแนะนำ

Digital footprint รอยเท้าบนโลกออนไลน์ที่อาจหวนมาทำร้ายคุณ

ถ้าพูดถึง Digital footprint แปลเป็นภาษาไทยง่ายๆ คือ ร่องรอยที่เราสร้างไว้บนโลกออนไลน์ แม้เป็นเรื่องเก่าถึง 8 ปี แต่ก็หวนมาทำร้ายได้

Published

on

หลังจาก เรื่องราวในอดีตของ อดีตผู้สมัคร ส.ส. และ ภาพเก่าของโฆษกพรรคอนาคตใหม่ แม้เป็นเรื่องเก่าถึง 8 ปี แต่ก็หวนมาทำร้ายได้ ซึ่งเป็นประเด็นอยู่บนสังคมออนไลน์ก่อนหน้านี้ ถึงเวลาแล้วที่สังคมไทยจะตระหนักถึง Digital footprint

ถ้าพูดถึง Digital footprint แปลเป็นภาษาไทยง่ายๆ คือ ร่องรอยที่เราสร้างไว้บนโลกออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นสถานะ หรือสเตตัส ต่างๆบนโลกออนไลน์ไม่ว่าจะเป็น Facebook Twitter หรือแม้กระทั่งสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆจะเป็นสิ่งที่อยู่บนโลกอินเตอร์เน็ต และหากวันหนึ่งถ้าเรามีชื่อเสียง ก็จะเป็นเหมือนกับรอยเท้าที่เมื่อสัตว์ป่าเดินไปในที่ต่างๆ ก็จะมีรอยเท้าตามหลังทำให้ นักล่าหรือถ้าหากเป็นโลกออนไลน์ก็คือนักสืบโซเชียลนักขุดโพสต์ต่างๆสามารถหาเรื่องราวที่เราเคยโพสไว้ไม่ว่าจะเป็นปีที่แล้ว เดือนที่แล้ว หรือเมื่อสัปดาห์ก่อนเป็นเหมือนกับรอยเท้าที่เราสร้างไว้บนโลกออนไลน์

สิ่งเหล่านี้หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องที่ขำๆไม่จริงจังเพราะคิดว่าตัวเองนั้นไม่ใช่ดาราไม่มีใครมาสนใจแต่อย่าลืมว่าวันนึงในอนาคตอาจมีผู้ไม่หวังดีมาทำร้ายเรา ขุดเรื่องราวต่างๆที่เคยโพสต์ไว้บน Social Media ซึ่งหลายคนอาจจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัวแต่ถ้าหากคุณลอง search Google ด้วยชื่อนามสกุลของตนเองก็อาจจะเจอข้อมูลหลายๆอย่างที่เราเคยไปพิมพ์ไว้รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์หรืออาจจะเป็นที่อยู่ให้มิจฉาชีพนำข้อมูลเหล่านั้นไปหลอกลวงคนอื่นต่อได้

ซึ่งข้อมูลจากฝ่าย HR หรือฝ่ายที่จะเป็นคนรับลูกจ้างที่สมัครเข้าไปในบริษัทต่างๆ เบื้องต้นฝ่าย HR เหล่านี้ก็จะตรวจสอบ Social Profile หรือหน้า Facebook , Twitter ที่เป็นชื่อของเรา ก่อนเข้ารับสมัครด้วยซึ่งบางบริษัทอาจจะนำอีเมลหรือชื่อภาษาอังกฤษที่เราส่งไปใน resume และใบสมัคร ไปหาใน Facebook เพื่อดูว่าเรามีทัศนคติอย่างไร ถึงแม้บางคนอาจจะตั้งโพสต์เหล่านั้นให้เห็นเฉพาะเพื่อนแต่บางครั้ง แค่เพื่อนคนเดียว ก็สามารถทำให้ฝ่าย HR สามารถเข้ามาดูสเตตัสต่างๆของเราใน Facebook ได้

Advertisement

ไม่ว่าเราจะเคยด่าเพื่อนใน Facebook , ด่าอดีตเจ้านายใน Facebook หรือวิจารณ์รวมถึงแชร์โพสต์ลามกอนาจารต่างๆ ก็อาจทำให้ฝ่าย HR นำข้อมูลเหล่านี้ไปพิจารณาในการรับหรือไม่รับเข้าทำงานในบริษัทด้วยเช่นกัน

อย่างกรณีที่ นางสาวพลอยไพลิน รัตนเสถียร ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.มหาสารคาม เขต 1 พรรคพลังท้องถิ่นไท เคยถ่ายรูป ที่หลายคนมองว่าไม่เหมาะสมในการเป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือแม้กระทั่งกรณีของ นางสาวพรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่ ที่เคยโพสต์ภาพพร้อมข้อความที่หลายฝ่ายตั้งประเด็นข้อสงสัย จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่คนไทยควรจะเริ่มหันมาตระหนักถึง Digital footprint ดังนั้นก่อนที่เราจะเริ่มโพสต์อะไรบน Facebook หรือบนโลกออนไลน์อย่าลืมคิดและไตร่ตรองให้ดีเพราะทุกอย่างอาจจะย้อนกลับมาถึงคุณในไม่ช้า