Connect with us

บทความ

ทำหลายอย่างพร้อมกัน (Multitasking) งานเจ๋งหรือเจ๊งกันแน่ ?

Published

on

หลายคนคงเคยเกิดความสับสน และเกิดความผิดพลาด เมื่อต้องทำหน้าที่อะไรหลายๆ พร้อมกัน ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่เคยประสบปัญหานี้ คุณไม่ได้ผิดแปลกอะไร แต่อาจถึงเวลาที่คุณต้องปรับรูปแบบการทำงานใหม่ได้แล้ว

โดย : ปณิดดา เกษมจันทโชติ

การทำอะไรหลายอย่าง ณ ที่นี้ไม่ได้หมายความถึงการทำหลายอาชีพเพื่อเพิ่มหลายได้ แต่หมายถึงการทำงานหลายๆ อย่าง ณ ห้วงเวลาเดียวกัน ในลักษณะสลับไปสลับมา หรือที่เรียกว่า Multitasking เช่น การทำงานไปด้วย เล่นเกมในโทรศัพท์ไปด้วย ประชุมไปด้วยพรางร่างจดหมายเพื่อส่งให้ลูกค้า 

Advertisement

สาเหตุที่หลายคนตัดสินใจทำหลายๆ อย่างพร้อมกัน ส่วนหนึ่งคือทุกอย่างเร่งรีบไปหมด แต่สิ่งที่สนับสนุนให้ทำจากภายใน คือความเชื่อว่าการทำงานแบบ multitasking ช่วยร่นระยะเวลา และรู้สึกว่าตัวเองมีประสิทธิภาพมากเพราะทำงานหลายอย่างพร้อมๆ กันได้

แต่ในความเป็นจริงแล้ว งานวิจัยหลายฉบับกลับสะท้อนว่ามันไม่ได้เป็นแบบนั้น แถมการทำหลายๆ อย่างพร้อมกัน (multitasking) กลายเป็นตัวฆ่าประสิทธิภาพการทำงานได้ และอาจถึงขั้นทำลายสมองได้เลยทีเดียว

multitasking คือทักษะพิเศษจริงหรือ?

การวิจัย จากการศึกษาเมื่อปี 2018 ดำเนินการที่ Stanford University (มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด) พบว่าการทำงานหลายอย่างมีประสิทธิผลน้อยกว่าการทำสิ่งเดียวในแต่ละครั้ง นักวิจัยพบว่าคนที่ถูกโจมตีหรือถูกรบกวนด้วยกระแสข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หลายครั้ง เช่น การทำงานสลับกับการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ อยู่ตลอดเวลา จะทำให้ไม่จดจ่อ หรือเรียกคืนข้อมูลบางส่วนจากงานหนึ่งไปอีกงานหนึ่งได้ครบถ้วน ขณะที่การงานที่ละอย่างจะทำให้ไม่มีข้อมูลใดๆ หลุดหายไปและทำให้งานมีประสิทธิภาพที่ดีกว่านั่นเอง

Advertisement

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้เปรียบเทียบกลุ่มคนตามแนวโน้มที่จะทำงานหลายอย่างพร้อมกัน เนื่องจากคนกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า “การทำงานหลายอย่างเป็นคนมีทักษะพิเศษ หรือรู้สึกว่าเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้”

แต่จริงๆ แล้วการทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกันกลับแย่กว่าผู้ที่ชอบทำสิ่งเดียวในแต่ละครั้ง สาเหตุที่ผู้ทำงานหลายอย่างพร้อมกันบ่อยครั้งมีประสิทธิภาพงานแย่ลง เพราะยิ่งทำบ่อยๆ ยิ่งมีปัญหาในการจัดระเบียบความคิด และกรองข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป เมื่อมีสิ่งที่ไม่จำเป็นเข้ามาในกระบวนการทำงานมากเข้า การทำงานก็ช้าลง เมื่อเปลี่ยนจากงานหนึ่งไปอีกภารกิจหนึ่ง ดังนั้นคนที่พยายามทำ 2 สิ่ง หรือมากกว่านั้นไปพร้อมกัน จะทำให้สมองขาดความสามารถในการทำงานทั้งสองอย่างสำเร็จอย่างสมบูรณ์ ในทางกลับกัน การทำงานอย่างเดียวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานเพราะสมองจะสามารถจัดการตัวเองได้ดีกว่า

ทำงานหลายอย่างพร้อมกันมีส่วนให้ IQ ลดลง

การวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า การทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกัน นอกเหนือจากการทำให้งานช้าลงแล้ว ยังมีผลในการลด IQ ด้วย การศึกษาที่มหาวิทยาลัยลอนดอนพบว่า ผู้เข้าร่วมที่ทำภารกิจหลายอย่างระหว่างการเรียนรู้ได้คะแนน IQ ลดลง ซึ่งคล้ายกับสิ่งที่พวกเขาคาดหวัง หากพวกเขาสูบกัญชาหรืออยู่ตลอดทั้งคืน IQ ลดลง 15 คะแนน สำหรับผู้ชายที่ทำงาน multitasking ลดคะแนนลงสู่ระดับเฉลี่ยของเด็กอายุ 8 ปีเลยทีเดียว

ดังนั้นในครั้งต่อไป เราจึงไม่ควรเขียนอีเมลถึงหัวหน้าหรือส่งข้อมูลสำคัญๆ ระหว่างที่ประชุมไปด้วย เพราะ “ในเวลานั้น ความสามารถในการคิดของคุณจะลดน้อยลงจนคุณอาจปล่อยให้เด็กอายุ 8 ขวบในตัวคุณ เขียนออกไปก็เป็นได้”

Advertisement

สมองพังเพราะทำงานหลายอย่างในเวลาเดียว

เป็นที่เชื่อกันมานานแล้วว่าความบกพร่องทางสติปัญญาจากการทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกันนั้นเป็นการชั่วคราว นักวิจัยที่ University of Sussex ในสหราชอาณาจักร เปรียบเทียบระยะเวลาที่ผู้คนใช้อุปกรณ์หลายอย่าง (เช่นการส่งข้อความขณะดูทีวี) เพื่อสแกน MRI (Magnetic Resonance Imaging) จากสมองของพวกเขา พวกเขาพบว่ายิ่งมีการทำงานหลายอย่างยิ่งมีความหนาแน่นของสมองน้อยลงในเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้า (cingulate cortex) ซึ่งเป็นส่วนที่มีความรับผิดชอบต่อการเอาใจใส่รวมถึงการควบคุมความรู้ความเข้าใจและอารมณ์

มีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบว่าการทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกันนั้น สามารถสร้างความเสียหายต่อร่างกายหรือไม่ มีความชัดเจนว่า multitasking มีผลกระทบเชิงลบ โดยนักประสาทวิทยา Kep Kee Loh ผู้เขียนหลักของการศึกษาอธิบายความหมายของเรื่องนี้ว่า

“สิ่งสำคัญคือการสร้างความตระหนักรู้ถึงวิธีที่การโต้ตอบกับอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เพราะการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ อาจเปลี่ยนแปลงวิธีคิดในระดับของโครงสร้างสมอง”

Advertisement

ดังนั้น หากรู้ตัวว่าเราเริ่มมีแนวโน้มที่จะทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกัน เราไม่ควรตามใจตัวเองเรื่องนี้ เพราะมันจะทำให้คุณช้าลง และลดคุณภาพงานลงด้วย แม้ว่าจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสมอง แต่การอนุญาตให้ตัวเองทำงานหลายอย่างพร้อมเพรียงกันบ่อยๆ จะเพิ่มความยากลำบากในการจัดการกับสมาธิและการใส่ใจในรายละเอียด ซึ่งการทำงานหลายอย่างพร้อมกันอาจบ่งบอกถึงการรับรู้ตนเองและสังคมในระดับต่ำ รวมถึงทักษะความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ที่สำคัญต่อความสำเร็จในการทำงานในมิติอื่นๆ ด้วย

การสร้างงานให้มีประสิทธิภาพ

ท้ายที่สุด การพยายามทำงานทีละอย่าง ลด multitasking ได้ ด้วยวิธีแก้ปัญหาสุดเบสิกอย่าง “การจัดเวลา” เริ่มต้นจากการสร้างรายการสิ่งที่คุณต้องทำให้เสร็จเวลากำหนดเวลา เพื่อทำงานให้เสร็จ และอุทิศตนให้กับงานอย่างเต็มที่โดยไม่เปิดโอกาสสมาร์ทโฟนหรือแม้แต่อีเมลเข้ามารบกวน

แม้วิธีนี้อาจไม่สมบูรณ์แบบ แต่มันมีส่วนช่วยลดเวลาที่เสียไปในการพยายามคิดในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกันงาน

Advertisement

อีกขั้นตอนสำคัญคือการกำจัดการรบกวนหลังจากลำดับความสำคัญและกำหนดเวลาการทำงานของคุณเป็นสิ่งสำคัญอย่างแน่นอน ซึ่งทำให้แน่ใจได้ว่าเราจดจ่อในงานที่กำลังทำอยู่จริง ๆ เช่น “หลีกเลี่ยงการทำสิ่งที่ไม่จำเป็น ปิดการแจ้งเตือน กำจัดสิ่งรบกวนภายนอก ไม่ปล่อยให้สมองทำหน้าสลับหน้าที่ไปมา”

สำหรับที่กำลังเผชิญปัญหา งานยุ่งจนจัดการไม่ได้ ลองประยุกต์ใช้คำแนะนำเหล่านี้ชีวิตประจำวัน ที่อาจมีส่วนให้ได้ผลลัพธ์งานที่เร็วกว่า มีประสิทธิภาพกว่า ที่สำคัญคือสมองทำงานหนักน้อยกว่า และอาจเหลือพลังในการทำงานอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและคนอื่นได้มากกว่าที่เคย

ที่มา: forbes , talentsmart , businessnewsdaily

Advertisement